วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตักบาตรเที่ยงคืน"วันเป็งปุ๊ด"สืบสานประเพณีล้านนา



ตักบาตรเที่ยงคืน"วันเป็งปุ๊ด"สืบสานประเพณีล้านนา


พุทธศานิกชนร่วมตักบาตรเที่ยงคืน หรือวันเป็งปุ๊ด สืบสานประเพณีล้านนา คนที่ได้ตักบาตรวันนี้ จะบังเกิดผลคือ ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยจะบรรเทาหายเร็ววัน เด็ก ๆ จะเพิ่มสติปัญญา หนุ่มสาวจะสมพรในคำอธิฐานของเขา ส่วนคนทั่วไปแล้วจะเป็นศิริมงคลตลอดไปเชียงราย (2 ธ.ค.) เมื่อเวลา 00.01 น.วันที่ 2 ธ.ค. พุทธศานิกชนใน จ.เชียงราย หลายพันคนได้ร่วมกันนำข้าวสารอาหารแห้งมาพร้อมกันทำบุญตักบาตรเที่ยงคืน เนื่องในวันเป็งปุ๊ด ที่ทางเทศบาลนครเชียงราย ได้ร่วมกับวัดมิ่งเมืองจัดงานประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวล้านนาที่มีมาตั้งแต่ในอดีตอีกทั้งเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว พร้อมกันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ได้ทำการตั้งจิตอธิฐานถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 82 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2552นายสมพงษ์ กูลวงค์ นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กล่าวว่า เทศบาลนครได้ทำการจัดประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เพื่อให้ประชาชนได้ออกมาร่วมกันทำบุญเพื่อเกิดความสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว โดยได้ทำการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ สามเณรจากวัดต่างๆ หลายร้อยรูป ได้ออกไปทำการบิณฑบาตในถนนสายต่างๆ ตามความเชื่อ ในปี 2552 นี้ พบว่าได้มีวันเพ็ญ ที่ตรงกับวันพุธ มีเพียงครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้พุทธศานิกชนได้นำข้าวสารอาหารแห้งและเครื่องใช้ที่จำเป็นมาร่วมทำบุญตักบาตรกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งสิ่งของที่ได้รับจากการทำบุญในครั้งนี้ จะได้มีการแจกจ่ายไปให้กับพระและสามเณรตามวัดต่างๆ ซึ่งหากพบว่ายังมีเหลือ ทางเทศบาลจะได้ทำการขอนิมนต์สิ่งของที่เหลือจากพระไปทำการแจกจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะชาวไทยภูเขาตามพื้นที่แนวชายแดนต่อไปสำหรับวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ เชื่อกันว่าจะมีพระอรหันต์ที่ชื่อพระอุปคุตจะออกมาบิณฑบาตรแต่เช้ามืด ผู้ใดที่ได้ใส่บาตรท่านจะได้บุญและโชคดีสูงสุด บางปีมี "เป็งปุ๊ด"เป็งพุธ หรือ เป็งปุ๊ด ทางล้านนาจะออกเสียง พ.พาน เป็น ป.ปลา จึงเรียกว่า เป็งปุ๊ด คำว่า เป็ง มีความหมายถึงพระจันทร์เต็มดวง เดือนเพ็ญ เพ็ญพโยม ดวงแข ศศิธร หรือวันขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันศีลหรือวันพระ วันเดือน ปีใดที่วันขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันพุธ นั่นคือ วันเป็งปุ๊ด ชาวพุทธถือว่าพระอุปคุตมาโปรดเมื่อเริ่มเข้าเวลาของวันพุธ คือตั้งแต่เวลา 00.00 น. ไปจนถึงก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น ผู้คนจะพากันใส่บาตรเพื่อความเป็นศิริมงคล ผู้ที่จะมารับบิณฑบาตรนี้จะเป็นเฉพาะสามเณรเท่านั้น ไม่มีพระภิกษุสงฆ์ เพราะสามเณรได้รับการอุปโหลกเป็นตัวแทนพระอุปคุต คำว่า อุป ปะ มาจากอุปถัมภ์ อุปถาก อุปการะ หมายถึง การช่วยเหลือ เกื้อกูล ค้ำจุน คำว่า คุต อ่านว่า คุต ตะ มาจากความคุ้มครอง การรักษาคติความเชื่อของชาวบ้านถือว่าพระอุปคุต บำเพ็ญตนอยู่ในเกษียณสมุทร เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีอิทธิฤทธิ์ปราบภัยมาร และป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายมากล้ำกรายได้ ช่วยบันดาลให้สิ่งที่เลวร้ายได้บรรเทาเบาลง นอกจากนี้ยังมีสติปัญญา เฉลียวฉลาดปราดเปรื่องเรืองวิชาอีกด้วย ชาวบ้านยังเชื่ออีกว่า ครั้งหนึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระบัญชาให้พระอุปคุตคอยดูแลสอดส่องชาวโลก อย่าให้ภัยมารมารบกวนได้ เมื่อถึงเวลาวันเป็งปุ๊ด พระอุปคุตจึงออกมาโปรดและปราบภัยมารต่าง ๆ อีกทั้ง ยังมีคืนวันพุธราหูเข้ามาเกี่ยวข้องอีก จึงเพิ่มความขลังขึ้นมาให้ชาวบ้านได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดการตักบาตรทำในตอนกลางคืน ช่วงเวลาสุดท้ายของคืนวันอังคาร ข้าวสารอาหารแห้ง ดอกไม้ธูปเทียน ปัจจัย เมื่อผู้ใดได้ทำบุญกับพระอุปคุตแล้ว จะบังเกิดผลคือ ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยจะบรรเทาหายเร็ววัน เด็ก ๆ จะเพิ่มสติปัญญา หนุ่มสาวจะสมพรในคำอธิฐานของเขา ส่วนคนทั่วไปแล้วจะเป็นศิริมงคลตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น