วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย






ศาสนา
ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญควบคู่กับสังคมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่า สังคมของชนชาติใด หรือภาษาใด เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่มากับชีวิตมนุษย์ทุกคน และมีความ สัมพันธ์ ต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากศาสนา เป็นสื่อระหว่าง มนุษย์กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ ฉะนั้นศาสนาจึงเป็นที่รวมของความ เคารพนับถือสูงสุดของมนุษย์เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ เข้าถึงสิ่งสูงสุดตามอุดมการณ์หรือความเชื่อถือนั้น ๆ และศาสนาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง สรรค์วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ แทบทุกด้าน เช่น วัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ ศิลปกรรม วรรณกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
พุทธศาสนากับชีวิตประจำวันของคนไทย
คนไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปีเศษมาแล้ว พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาฝังอยู่ในสายเลือดของคนไทยมา ตั้งแต่เกิดจนตาย พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จำเป็นต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะศาสนาพุทธ ได้ผูกมัดจิตใจคนไทยทั้งชาติให้เป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พุทธศาสนาได้ฝังรากลงในจิตใจของ คนไทยทั้งใน อดีตและปัจจุบัน คนไทยจึงได้แสดงออกทางศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมมักจะเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ในพุทธประวัติด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น ส่วนดนตรีไทยก็ให้ความเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสนา ด้วยอิทธิพลของ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทำให้จิตใจของคนไทยแสดงออกมาในลักษณะที่เยือกเย็นมีความเกื้อกูลปรองดองกัน ให้การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทำให้คนไทยพอใจในการดำรงชีวิต อย่าง สงบสุขมาจนกระทั่งทุกวันนี้



ศิลปกรรม
ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมสูงงานศิลปะเป็นงาน ที่ให้ความรู้สึกทางด้านสุนทรีย์ของมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกที่มีคุณค่าทางจิตใจ ส่งผลให้คนไทยเป็นผู้มีวัฒนธรรมทางจิตใจที่ถ่ายทอดทางอารมณ์ได้ 2 ลักษณะคือ
2.1. ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และประณีตศิลป์
2. 2. ถ่ายทอดออกมาไม่เป็นรูปธรรม ได้แก วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์ ศิลปวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏจะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพุทธศาสนา การถ่ายทอดทาง อารมณ์ทั้ง 2 ลักษณะ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชาติของคนไทย ซึ่งจะกล่าว ต่อไปนี้

สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม เป็นผลทางวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์ด้วยศิลปและวิทยาการในการก่อสร้าง เป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งในด้านความสะดวกสบาย ปลอดภัย และพึงพอใจ ควรสร้างสรรค์งานทางด้านศิลปแห่งการก่อสร้างมิให้จำกัดจำเพาะเพียงแต่การสร้าง ที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ในความเชื่อและศรัทธาในศาสนา ก็เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คน สร้างสรรค์งานทางด้านสถาปัตยกรรมขึ้น ต่างไปจากความมั่นคงแข็งแรงและสวยงาม ซึ่งเป็นผล ต่อจิตใจของผู้คนส่วนรวม
ประเภทของสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ของ คนไทย จำแนกได้ 4 ประเภท กล่าวคือ
1. สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้าง ขึ้นตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางพุทธศาสนา มีดังนี้ พระสถูปเจดีย์ต่างๆ พระมหาธาตุ เจดีย์ พระพุทธปรางค์ พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิ หอฉัน ซุ้ม ระเบียง กำแพงแก้ว ศาลาราย เป็นต้น
2. สถาปัตยกรรมประเภทปูชนียสถาน เป็นสถาปัตยกรรมที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานอันควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จำแนกเป็นพระ สถูปเจดีย์และพระปรางค์ ปูชนียสถานดังกล่าวนี้ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แต่เมื่อใดที่มีการสร้างพระอุโบสถเป็นประธานของวัดแล้วความสำคัญของพระสถูปและพระปรางค์ก็จะลดลงไปเพียงส่วนประกอบของเขตพุทธาวาสเท่านั้น
3. สถาปัตยกรรมประเภทอาคารสถาน คือ สถานที่ซึ่งก่อสร้าง ขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ มีรูปแบบเป็นเรือนหรือโรงอันเป็นที่อยู่อาศัยประจำ เป็นที่ประชุมคณะสงฆ์หรือพุทธศาสนิกชนประกอบพิธีกรรมเช่น เป็นสถานที่ประกอบพิธีอุปสมบท และ เป็นที่รับกฐินตลอดจนประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ เป็นที่สวดพระอภิธรรม เป็นที่พักของอุโบสถ เป็นที่ บอกเวลา เป็นที่เก็บพระธรรม เป็นต้น สถาปัตยกรรมประเภทอาคารสถาน ได้แก่ วิหาร โบสถ์ และ สถาปัตยกรรมประเภทบริวารสถาน (พระระเบียง หอไตร ศาลาการเปรียญ ศาลาบาตร ศาลาราย ศาลาเปลื้องเครื่อง สีมาและซุ้มสีมา กำแพงแก้ว) เป็นต้น
4. สถาปัตยกรรมประเภทที่อยู่อาศัยหรือสถาปัตยกรรม พื้นบ้าน ของไทยคือศิลปะหรือวิธีการว่าด้วยการก่อสร้างที่ชาวบ้านยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่สืบ ทอด ต่อกันมา ซึ่งประกอบด้วยคตินิยมในการเลือกใช้วัสดุ กรรมวิธีการสรรหา ใช้รูปแบบ และ องค์ประกอบสำคัญ ที่มุ่งประโยชน์ใช้สอยของสิ่งก่อสร้างและการตกแต่งสิ่งเหล่านี้จะต้องปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะร่วมของชุมชนนั้นอย่างปกติ
ลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นบ้านจะมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้า อากาศทรัพยากรธรรมชาติในเขตของท้องถิ่น ขีดความสามารถในการผลิตและเทคนิควิทยาการของชุมชน คติความเชื่อพื้นฐานของชุมชน ตลอดจนคติของศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่ชุมชนนั้น ๆ มีความพึงพอใจ ทั้งยังขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยหลักของชุมชนอีกด้วย
สถาปัตยกรรมพื้นบ้านของไทยจำแนกได้ตามสภาพภูมิศาสตร์ โดย จัดแบ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีการปลูกสร้างทีอยู่อาศัย โดยสืบทอดเอกลักษณ์พิเศษของเรือแต่ละ ภูมิภาค ให้คงไว้ซึ่งรูปแบบของเรือนไทยเฉพาะภูมิภาคปรากฏในเรือนเครื่องผูกภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ดังที่เรียกกันว่าเรือนพื้นถิ่น ส่วนเรือนเครื่องสับหรือเรือนไทย ปรากฏ ลักษณะเฉพาะแบบไทยตั้งแต่การมุงหลังคา การวางตัวเรือนหรือรูปเรือน ในภาคเหนือมีเอกลักษณ์ ส่วนบนหัวจั่วลักษณะกาแล ภาคกลางลักษณะป้านลมมีเหงา ภาคใต้เรือนที่มีหลังคาทรงปั้นหยา
การสร้างเรือนไทย เป็นการแสดงภูมิปัญญาของคนไทยที่ปลูกสร้าง ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของแต่ละภูมิภาค การปลูกเรือนได้ ถ่ายทอดคตินิยมของคนไทย นับตั้งแต่ความเชื่อนั้นเป็นมงคลแก้ผู้อยู่อาศัย โดยเริ่มต้นจากการเลือกสถานที่ปลูกเรือน การลงเสา การดูฤกษ์ยาม รวมถึงการตั้งพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งเป็นการนำคติ พราหมณ์ มาใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อความสุขชั่วลูกชั่วหลาน

ประติมากรรม
งานประติมากรรมไทยทั่วไป หมายถึง รูปภาพที่เป็นรูปร่างปรากฏแก่สายตาสามารถสัมผัสได้โดยตรงด้วยการจับต้องซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการปั้น หล่อ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตอบสนองความเชื่อ ความพึงพอใจ ความภาคภูมิใจ ร่วมไปกับการดำรงชีวิต ทั้งส่วนบุคคลและชนในสังคมไทยเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดประสบการณ์ ค่านิยมที่ได้รับ จากสิ่งแวดล้อมและได้แสดงออกมาเป็นงานประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำชนชาตินั้น ๆ
ลักษณะงานประติมากรรมไทย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงลอยตัว (Sculpture in the round) งานสร้างสรรค์รูปทรงในลักษณะ เช่น เป็นการสร้างทำรูปภาพให้เกิดขึ้นจากส่วนฐานซึ่งรองรับอยู่ทางตอนล่างรูปทรงของงานประติมากรรม อาจแสดงรูปแบบที่แลดูได้ทุกด้าน หรือแสดงทิศทางและการเฉลี่ยน้ำหนักลงสู่ฐานงานประติมากรรมไทยที่มีลักษณะเป็นรูปทรงลอยตัวนี้ ตัวอย่าง พระพุทธรูปเทวรูปต่าง ๆ เช่น รูปพระนารายณ์ทรงปืน ที่หน้าพระที่นั่งพุทธไธยสวรรค์ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และรูปนางธรณีบีบมวยผม หน้ากระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงแบบราบมีพื้นรองรับ (Sculpture in the relief) งานสร้างสรรค์รูปทรงประติมากรรมเช่นนี้ เป็นการสร้างและนำเสนอ รูปทรงแต่จำเพาะด้านใดด้านหนึ่งให้ปรากฏแก่ตา โดยลำดับรูปทรงต่าง ๆ ลงบนพื้นราบซึ่งรองรับ อยู่ทางด้านหลังแห่งรูปทรงทั้งปวงการเคลื่อนไหวและทิศทางของรูปภาพอาจกระทำได้ในทางราบขนานไปกับพื้นผิวระนาบของพื้นหลังงานประติมากรรมในลักษณะนี้ แสดงรูปทรงและเนื้อหาให้ ปรากฏเห็นได้จำเพาะแต่เพียงด้านเดียว ตัวอย่างเช่น รูปภาพปั้นปูนเรื่องเรื่องทศชาติชาดกที่วัดไล อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ลวดลายไม้บานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
3.งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงจมอยู่ในพื้น (Sculpture in the mcise) งานประติมากรรมลักษณะเช่นที่ว่าเป็นผลอันเกิดแต่การสร้างสรรค์รูปทรงต่าง ๆ ให้ปรากฏและมีอยู่ในพื้นที่รองรับอยู่นั้น งานประติมากรรมจึงมีลักษณะเป็นทั้งรูปภาพที่เกิดขึ้นด้วยเส้นขีดเป็นทางลึกลงในพื้น (Incise Line) อย่างหนึ่ง กับรูปภาพซึ่งเกิดขึ้นโดยการเจาะหรือฉลุส่วนที่เป็นพื้นออก(Craving)ให้คาไว้แต่ส่วนที่เป็นรูปภาพงานประติมากรรมลักษณะดังกล่าว เป็นการนำเสนอรูปแบบและเนื้อหาให้ปรากฏและแลเห็นได้จำเพาะแต่ด้านเดียว เช่นเดียวกับงานประติมากรรมลักษณะที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 ตัวอย่างเช่น ภาพลายเส้นในรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตัวอย่างงานประติมากรรมที่สร้างทำด้วยวิธีขีดเส้นเป็นทางลึกลงไปในพื้นรูปภาพหนังใหญ่ สลักเป็นตัวละครในเรื่อง รามเกียรติ์ นี้เป็นตัวอย่างทำงานประติมากรรมที่มีรูปทรงจมอยู่ในพื้น โดยการฉลุหรือเจาะส่วนพื้นออกทิ้ง เหลือไว้แต่ส่วนที่เป็นรูปภาพ
อนึ่งงานประติมากรรมไทย นอกเสียจากลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าว ในแต่ละข้อข้างต้นนี้แล้ว ยังมีงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ว่าเป็นงานประติมากรรมได้อีกลักษณะหนึ่ง คืองานประติมากรรมลักษณะที่เป็นสิ่งห้อยหรือแขวน (Mobile) เช่นรูปพวงปลาตะเพียนสานด้วย ใบลาน ทำเป็นเครื่องห้อยรูปพวงกระจับทำด้วยเศษผ้าใช้แขวน รูปพวงกลางทำร้อยด้วยดอก ไม้สด ใช้แขวนต่างเครื่องประดับ เป็นต้น

จิตรกรรมไทย
งานจิตรกรรมไทยเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะด้วยการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นรูปภาพเพื่อสื่อความหมายก่อให้เกิดความรู้สึกยอมรับ ความพึงพอใจและมีความสุข
การเขียนรูปภาพจิตรกรรมในประเทศไทย นับแต่โบราณกาล จนถึง ปัจจุบันมักเขียนขึ้นเพื่อนำมาใช้อธิบายพรรณนา หรือลำดับเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะเกี่ยวกับพุทธประวัติ การพรรณนาและลำดับเรื่องอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อยังเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์หรืออธิบายความเชื่อและเหตุผลแห่งหลักธรรมต่างๆ ให้คนทั่วไปเกิด ความเข้าใจและยอมรับได้โดยง่าย นอกจากนั้นยังแสดงพฤติกรรมและความเป็นไปในวิถีชีวิตของ คนไทย โดยสามารถจำแนกออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธประวัติ เรื่องทศชาติ ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น รูปภาพแสดงเรื่องราวและเหตุการณ์เหล่านี้มักจะเขียนรูปภาพ ขนาดใหญ่เต็ม พื้นฝาผนังภายในพระอุโบสถ
2. เรื่องเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณี เขียนขึ้นเพื่อแสดง รูปแบบ ของความเชื่อในขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ถือปฏิบัติในเวลานั้นให้คนทั้งหลายได้รู้เห็น เข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง เช่น ประเพณีต่าง ๆ ที่มีใน 12 เดือน ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เป็นต้น
3. เรื่องเกี่ยวกับวิชาการ เป็นตำราความรู้ต่าง ๆ ในเมืองไทย แต่ก่อนที่ทำเป็นสมุดมีรูปภาพประกอบ เพื่อแสดงตัวอย่างให้เห็นชัดเจน เช่น ตำราฟ้อนรำ ตำรา ดูแมว ตำราชกมวย ตำราพิชัยสงคราม เป็นต้น
4. เรื่องเกี่ยวกับวรรณคดี ในสมัยก่อนคนที่ไม่รู้หนังสือมีอยู่มาก ดังนั้นการใช้รูปภาพเขียนลำดับความจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ช่วยทำให้คนทั่วไปสามารถรับรู้ และประจักษ์ในคุณค่าแห่งวรรณคดีได้ วรรณคดีเรื่องที่นิยมนำมาเขียนเป็นรูปภาพ มีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน อาทิเช่น รามเกียรติ์ อิเหนา สังข์ทอง เป็นต้น
5. เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซึ่งนิยมเขียนขึ้นมาในสมัยกรุง รัตนโกสินทร์เป็นเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ เช่น พระราชพงศาวดาร สมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยุทธหัตถี เป็นต้น (จุลทัศน์ พยาฆรานนท์, 2521 : 225-226)

ประณีตศิลป์
ประณีตศิลป์เป็นศิลปกรรมที่งดงามและทรงคุรค่ามากอีกสาขาหนึ่ง ประณีตศิลป์ที่นิยมทำมากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่
1. งานช่างประดับมุก เป็นศิลปะที่นิยมทำกันมากในสมัยรัชกาลที่ 1 ผลงานชิ้นเอกในสาขานี้คือ พระแท่นราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งุสิตมหาปราสาท องค์พระแท่นสร้างด้วยไม้ประดับมุขเป็นลายกระหนก งานประดับมุกที่งดงามมากอีกชิ้นหนึ่งคือ บานประตูพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนั้นยังมีบานประตูประดับมุกวัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม วัดราชโอรสาราม ตู้ประดับมุขทรงมณฑป และพระแท่นบรรจถรณ์ประดับมุข เป็นต้น
2. งานสลักไม้ งานสลักไม้ที่จัดเป็นศิลปะชิ้นเอกและ มีความสำคัญมากคือ การสลักไม้ประกอบพระมหาพิชัยราชรถและเวชยันต์ราชรถ
3. เครื่องถ้วยเบญจรงค์ ในสมัยราชกาลที่ 2 นิยมสั่งเครื่องถ้วย เบญจรงค์จากประเทศจีน โดยชาวไทยออกแบบรูปทรงและลวดลายส่งไปให้ช่างจีนทำ ลายที่นิยมส่งไปให้ทำได้แก่ ลายเทพพนม ลายราชสีห์ และลายกินนร เป็นต้น ที่เรียกว่าเบญจรงค์ เพราะเขียน ด้วยสี 5 สี คือ สีแดง เขียว น้ำเงิน เหลือง และดำ นอกจากนั้นยังมีลายที่เขียนด้วยทอง เรียกว่า ลายน้ำทอง
4. งานช่างทองรูปพรรณ รัชกาลที่ 1 ให้ฟื้นฟูและทะนุบำรุง ช่างทองรูปพรรณขึ้นใหม่ที่สำคัญได้แก่เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วยพระมหาพิชัย
มงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรีธารพระกร พระแส้ พัดวาลวิชนี และฉลองพระบาทเชิงงอน นอกจากนี้ยังมีเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชูปโภค เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทำด้วยทองคำจำหลัก ประดับอัญมณี
5. งานช่างถมยาดำ รัชกาลที่ 2 ให้ฟื้นฟูและฝึกหัดวิชาการทำ เครื่องถมขึ้น วิชาการสาขานี้รุ่งเรืองและแพร่หลายมากที่เมืองนครศรีธรรมราช ผลงานชิ้นเอกของ สาขานี้คือ พระราชยานถมที่พระยานคร (น้อย) ทำขึ้นถวายรัชกาลที่ 2 พระราชยานถม นี้ทำอย่างพระยานมาส มีโครงเป็นไม้หุ้มด้วยเงิน ถมยาดำทาทอง (เสนอ นิลเดช และคณะ. 2537 : 20)

วรรณคดี
วรรณคดีเป็นงานทางศิลปะที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินทางใจและให้อารมณ์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงต้องมีความประณีต งดงาม และส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักเป็นส่วนใหญ่ การอ่านวรรณคดีมักจะได้รับอารมณ์ ประทับใจ สุขใจ เห็นใจ หรือซาบซึ้งใจ
วรรณคดีไทยมีลักษณะการดำเนินเรื่องหลายรูปแบบ ดังนี้
1. วรรณคดีนิทานประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ ซึ่งหมายถึงชื่อของ พระเอก มักมีคำว่า "จักร" หรือ "วงศ์" เช่น ลักษณะวงศ์ จักรแก้ว ศิลป์สุริวงศ์ เป็นต้น การดำเนินเรื่องวรรณคดี ประเภทนี้ มักมีโครงเรื่องอย่างเดียวกัน คือเป็นเรื่องที่พระเอกและนางเอกต้องพรัดพรากจากกัน พระเอกออกติดตามนางเอกและผจญภัยมากมายจนที่สุดก็พบนางเอกในปั้นปลาย
2. วรรณคดีนิทานที่มีเค้าเรื่องจริง ซึ่งมักเป็นเรื่องราวของบุคคล ที่เชื่อว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เช่น ลิลิตพระลอ ขุนช้างขุนแผน ผาแดงนางไอ่ เงาะป่า ไกรทอง อิเหนา
3. วรรณคดีที่เป็นการพรรณนาอารมณ์รักโดยตรง วรรณคดีประเภทนี้มีเนื้อหาเป็นการรำพันความรักอันเกิดจากต้องพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก หรือบทที่กวีต้อง เดินทางจากนางไปในแดนไกล เช่น วรรณคดีนิราศ เช่น นิราศพระบาท กาพย์ห่อโคลง นิราศ ธารโศก
4. วรรณคดีที่เป็นการพรรณนาอันแฝงอารมณ์รัก เป็นวรรณคดี ที่ผู้แต่งพรรณนาสิ่งต่าง ๆ โดยแฝงอารมณ์รักไว้ด้วย เช่น วรรณคดีประเภทกาพย์เห่เรือ
5. วรรณคดีพิธีกรรม พิธีกรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ในสังคม ที่มุ่งผลด้านจิตใจ ดังนั้นจึงมักมีบทสวดเพื่อให้เกิดผลทางใช้แก่ผู้ร่วมประกอบพิธี เช่น ลิลิตโองการ แช่งน้ำ ซึ่งเป็นงานประพันธ์ในสมัยอยุธยาตอนต้น
6. วรรณคดีศาสนา ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อและศรัทธา ดังนั้น จึงมีวรรณคดีที่สร้างความประทับใจและเกิดศรัทธาขึ้นในหมู่ศาสนิกชน เช่น มหาชาติคำหลวง มหาชาติคำกลอนเทศน์ ปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเป็นพุทธประวัติที่แต่งด้วยร้อยแก้ว กวีคือสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
7. วรรณคดีคำสอน เป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่ออบรมจริยธรรม ขนบ ธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่ออันเป็นวัฒนธรรมของสังคม เป็นการถ่ายทอด วัฒนธรรม ของสังคม เช่น พระมาลัยคำหลวง นันโทนันทสูตรคำหลวง ทศชาติ พญาคำกองสอนไพร่ ซึ่งเป็นวรรณคดีคำสอนทางอีสานเป็นเรื่องอบรมประชาชน ในเมืองของตนในการครองเรือน การหาความรู้ หน้าที่พ่อบ้านแม่บ้าน กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สุภาษิตสอนหญิง สวัสดิรักษาคำกลอน เป็นต้น
8. วรรณคดีประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใน ประวัติศาสตร์ โดยกวีสอดแทรกจินตนาการและการใช้ภาษาให้ไพเราะ เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น

ดนตรีไทย
ดนตรีไทย หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่อง บรรเลง ซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน เกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริง เป็นต้น ดนตรี มีรากศัพท์จากภาษาบาลีว่า ตนฺติ ภาษาสันสกฤตว่า ตนฺตริน เมื่อแผลงมาเป็นคำว่าดนตรีในภาษาไทยแล้วประกอบด้วย
1) คีตะ การร้องเป็นการร้องอย่างมีศิลป์ ในภาษาไทยเรียกว่า คีตศิลป์
2) ตุริยะ เครื่องดนตรี เครื่องทำนองเพลง (ดีด สี ตี เป่า) ในภาษาไทยเรียกว่า ดุริยางคศิลป์ ซึ่งหมายถึง ศิลปการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ
3) นาฏะ การรำเต้น ในภาษไทยเรียกว่านาฏศิลป์ หมายถึง การแสดงออกซึ่งมีลีลาท่ารำต่าง ๆ ลักษณะเป็นระบำ รำ เต้น (หรือเรียกว่าโขน) ทั้ง 3 คำ รวมกันเรียกว่า ดนตรี ดังนั้นมิได้หมายถึงเครื่องบรรเลงเท่านั้น (เสรี หวังในธรรม, 2525 : 150)
ชื่อและชนิดของเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ก่อนที่คนไทยจะรับวัฒนธรรมแบบอินเดีย ได้แก่ เกราะ โกร่ง กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ ขลุ่ย เพี้ย ซอ ฆ้อง และกลอง เป็นต้น ในเวลาต่อมาคนไทยพัฒนาเครื่องดนตรีทำด้วยไม้ เช่น กรับ พร้อมทั้งการคิดฆ้องวงใช้ในการเล่นดนตรีเมื่อคนไทยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแหลมสุวรรณภูมิ จึงได้รับอิทธิพลของอินเดียผสมกับมอญและเขมร จึงทำให้เครื่องดนตรีไทยเพิ่มจากเดิม อาทิ พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับ ปี่ จะเข้ โทน และทับ
ดนตรีไทยปรากฏมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากสมัยสุโขทัยสืบต่อมาสมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ดนตรีไทยจัดเป็นดนตรีที่มีแบบแผนหรือดนตรีคลาสสิก (Classic Music) เครื่องดนตรีไทยนั้นกรมศิลปากร จำแนกไว้รวมทั้งสิ้น 56 ชนิด ประกอบด้วยเครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องดีด และเครื่องสี เครื่องดนตรีไทยที่นิยมใช้กันมาก ดังนี้ - เครื่องดีด ได้แก่ พิณน้ำเต้า พิณ เพ้ย กระจับปี่ ซึง จะเข้ - เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย ซอล้อ - เครื่องตีประเภทไม้ ได้แก่ เกราะ โกร่ง กรับ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ฆ้อง หุ่ย และเครื่องตีที่ทำด้วยหนัง ได้แก่ กลองทุกประเภท - เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ แคน แตร สังข์ เป็นต้น (มนตรี ตราโมท, 2503 : 47)

นาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทย หมายความถึง ศิลปะการละครและการฟ้อนรำ ซึ่งสืบทอดจากนาฏศิลป์ดั้งเดิม 3 ลักษณะดังกล่าวคือ
1) ระบำ ได้แก่การแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีตัว พระเอก นางเอก ตัวโกง เช่น การรำอวยพร ระบำดาวดึงส์ ระบำโบราณคดี เป็นต้น 2) รำ ได้แก่ การแสดงเป็นเรื่องที่เรียกว่า ละครต่าง ๆ ดังเช่น การเล่นโนรา ได้รับอิทธิพล จากสมัยศรีวิชัย ซึ่งมีคำร้องทำนองเรียกว่า กำพระมีผู้แสดงเป็นพระเอก นางเอก และตัวประกอบ 3) เต้น ได้แก่ การเล่นโขนจัดเป็นนาฏกรรมประเภทมหรสพ มีหลายชนิด เช่น โขนกลางแปลง โขนโรงนอก โขนโรงใน โขนนั่งราว โขนเป็นนาฏกรรม ประเภทแถวที่รับเอาเรื่องรามเกียรติ์จากอินเดียมาแสดงเป็นรามเกียรติ์ไทย
ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทยจัดเป็นศิลปะ แสดงออกในท่ารำ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นท่ารำที่อ่อนช้อย งดงาม มีความหมายในท่ารำทุกท่วงท่า โดยการฝึกหัดอบรมจึงจัดเป็นศิลปะไทยที่มีเอกลักษณ์ในความเป็นไทยและถือปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดจาก บรรพบุรุษดังนี้ 1) เป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยในด้านท่ารำอันอ่อนช้อย งดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทย มีเอกลักษณ์ในดนตรีประกอบ เนื้อร้อง และการแต่งกายพร้อมทั้งแบบแผนในการแสดง 2) เป็นศิลปะที่เกิดจากการฝึกหัดอบรมและความรักในการ แสดง โดยเฉพาะผู้แสดงนาฏศิลป์จะต้องมีการไหว้ครูก่อนการแสดง การแสดงนาฏศิลป์จะต้อง มีการฝึกซ้อมเป็นเวลานานตั้งแต่วัยเยาว์การฝึกท่ารำแต่ละท่า ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึก 3) เป็นศิลปะของคนทุกชนชั้น นาฏศิลป์ไทยสามารถ แสดง ได้ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และประชาชนทั่วไป โดยมีแบบแผนดังเช่นในท่ารำแบบสู้รบ จัดเป็นวิชาชั้นสูง แสดงจะต้องศึกษาตำรายุทธศาสตร์ในบางโอกาสมีการแสดงบนคอช้างพระที่นั่ง นอกจากนี้ได้มีการจัดแบบแผนการแสดงไว้สำหรับราชสำนักและประชาชนทั่วไป อาทิเช่น การ แสดงโขนละคร ระบำ รวมทั้งการแสดงเฉพาะในแต่ละภูมิภาคตามประเพณีท้องถิ่น 4) เป็นศิลปะที่เน้นการแสดงทางอารมณ์ ดังปรากฏในท่าแสดง ความสนุกบันเทิงใจ ท่าโกรธแค้น อารมณ์รัก ซึ่งกรมศิลปากรได้รวบรวมไว้ถึง 68 ท่า การตีบท แสดง ตามภาษาท่า ตามคำร้อง คำเจรจา คำพากย์ในการแสดงโขน 5) เป็นศิลปะที่มีรูปแบบและกระบวนการในตนเอง จัดเป็นเอก- ลักษณ์ในด้านรูปแบบโดยแบ่งผู้แสดงเป็น ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ ลิง เป็นต้น ซึ่งผู้แสดงมีท่ารำและคำกลอนที่มีความสอดคล้องกันดังเช่นการรำหน้าพาทย์ ผู้แสดงจะรำตามจังหวะเฉพาะกับเพลงต่างๆโดยไม่ต้องมีเนื้อร้องและทำนองในเพลงเชิด เพลงกราว เพลงช้า เพลงเร็ว เป็นต้น
นาฏศิลป์ไทยเป็นวิชาการที่ละเอียดอ่อน ผู้แสดงระดับครูจัดเป็น ศิลปิน วิชาการนาฏศิลป์ไทยทั้งผู้แสดง ผู้ชมจะต้องมีพื้นความรู้ ขณะเดียวกันการแสดงประเภท ระบำได้รับการประดิษฐ์ท่ารำและลีลาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพของวัฒนธรรมพื้นบ้าน กลายเป็นการละเล่นพื้นเมืองประจำภาค และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในหมู่ประชาชนได้มากกว่าการแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งจัดเป็นการแสดงเป็นละครเรื่องต่าง ๆ และการแสดงโขน

The culture of Thailand

The culture of Thailand incorporates a great deal of influence from India, China, Cambodia, and the rest of Southeast Asia. It is influenced primarily by Buddhism, as well as by large scale immigration from China, and to a lesser extent, from India


Arts
Thai visual art was traditionally primarily Buddhist. Thai Buddha images from different periods have a number of distinctive styles. Contemporary Thai art often combines traditional Thai elements with modern techniques.
Literature in Thailand is heavily influenced by Indian Hindu culture. The most notable works of Thai literature are a version of the Ramayana, a Hindu religious epic, called the Ramakien, written in part by Kings Rama I and Rama II, and the poetry of Sunthorn Phu.
There is no tradition of spoken drama in Thailand, the role instead being filled by Thai dance. This is divided into three categories- khon, lakhon and likay- khon being the most elaborate and likay the most popular. Nang drama, a form of shadow play, is found in the south.
The music of Thailand includes classical and folk music traditions as well as string or pop music.


Religion
Thailand is nearly 95% Theravada Buddhist, with minorities of Muslims (4.6%), Christians (0.7%), Mahayana Buddhists, and other religions.[1] Thai Theravada Buddhism is supported and overseen by the government, with monks receiving a number of government benefits, such as free use of the public transportation infrastructure. The Thai Sangha is divided into two main orders, the Thammayut Nikaya and the Maha Nikaya, and headed by the Supreme Patriarch of Thailand, currently Somdet Phra Nyanasamvara Suvaddhana Mahathera. A recent reformist group, Santi Asoke, is forbidden to describe itself as Buddhist. Buddhism in Thailand is strongly influenced by traditional beliefs regarding ancestral and natural spirits, which have been incorporated into Buddhist cosmology. Most Thai people own spirit houses, miniature wooden houses in which they believe household spirits live. They present offerings of food and drink to these spirits to keep them happy. If these spirits aren't happy, it is believed that they will inhabit the larger household of the Thai, and cause chaos. These spirit houses can be found in public places and in the streets of Thailand, where the public make offerings.
Prior to the rise of Theravada Buddhism, both Indian Brahmanic[dubiousdiscuss][citation needed] religion and Mahayana Buddhism were present in Thailand. Influences from both these traditions can still be seen in the present day. Brahmanist[dubiousdiscuss] shrines play an important role in Thai folk religion, and the Mahayana Buddhist influence is reflected in the presence of figures like Lokesvara, a form of the bodhisattva Avalokitesvara sometimes incorporated into Thailand's iconography



Cuisine
Thai cuisine is famous for the blending of four fundamental tastes:
· sweet (sugar, fruits, sweet peppers)
· spicy hot (chilies)
· sour (vinegar, lime juice, tamarind)
· salty (soy sauce, fish sauce)
Most of the dishes in Thai cuisine try to combine most, if not all, of these tastes. It is accomplished by using a host of herbs, spices and fruit, including: chili, galangal, garlic, lime leaves, basil, sweet basil, lime, lemongrass, coriander, pepper, turmeric, and shallots

Sports
The most popular team sport in Thailand is football (also know as association football or soccer). However, the professional leagues Thai League and Pro League in Thailand are in their infancy. The English and Premiership have large followings. Muay Thai (Thai boxing) is probably the most popular spectator sport in Thailand. The other main indigenous sport is takraw, which is similar to volleyball, but played with the feet and a light rattan ball. There are several versions of the game with differing rules.
There is a Swan Boat circuit where the villages field teams compete. The international invitational race is usually in November.
Egg rolling once enjoyed national-pastime status, but famine and egg shortages around the middle of the last century caused it to retreat to rural villages, where it is still practised with traditional vigour

Customs
One of the most distinctive Thai customs is the wai, which is similar to the Indian namaste gesture. Showing greeting, farewell, or acknowledgment, it comes in several forms reflecting the relative status of those involved, but generally it involves a prayer-like gesture with the hands and a bow of the head.
Physical demonstrations of affection in public are common between friends, but less so between lovers. It is thus common to see friends walking together holding hands, but couples rarely do so except in westernized areas.
A notable social norm holds that touching someone on the head may be considered rude. It is also considered rude to place one's feet at a level above someone else's head, especially if that person is of higher social standing. This is because the Thai people consider the foot to be the dirtiest and fattest part of the body, and the head the most respected and highest part of the body. This also influences how Thais sit when on the ground—their feet always pointing away from others, tucked to the side or behind them. Pointing at or touching something with the feet is also considered rude.
In everyday life in Thailand, there is a strong emphasis on the concept of sanuk; the idea that life should be fun. Because of this, Thai can be quite playful at work and during day-to-day activities. Displaying positive emotions in social interactions is also important in Thai culture, so much so that Thailand is often referred to as the Land of Smiles.
Conflict and displays of anger are eschewed in Thai culture and, as is many Asian cultures, the notion of face is extremely important. For these reasons, visitors should take care not to create conflict, to display anger or to cause a Thai person to lose face. Disagreements or disputes should be handled with a smile and no attempt should be made to assign blame to another.
Often, the Thai will deal with disagreements, minor mistakes or misfortunes by using the phrase mai pen rai, traslated as "does not matter." The ubiquitous use of this phrase in Thailand reflects its utility as a means for minimizing conflict, diagreemtnts or complaints as one can merely reply "mai pen rai" to indicate that the incident is not important and therefore there is no conflict or loss of face involved.
It is also considered extremely rude to step on a Thai coin, because the king's head appears on the coin. When sitting in a temple, one is expected to point one's feet away from images of the Buddha. Shrines inside Thai residences are arranged so as to ensure that the feet are not pointed towards the religious icons—such as placing the shrine on the same wall as the head of a bed, if a house is too small to remove the shrine from the bedroom entirely.
It is also customary to remove one's footwear before entering a home or a temple, and not to step on the threshold.
There are a number of Thai customs relating to the special status of monks in Thai society. Due to religious discipline, Thai monks are forbidden physical contact with women. Women are therefore expected to make way for passing monks to ensure that accidental contact does not occur. A variety of methods are employed to ensure that no incidental contact (or the appearance of such contact) between women and monks occurs. Women making offerings to monks place their donation at the feet of the monk, or on a cloth laid on the ground or a table. Powders or unguents intended to carry a blessing are applied to Thai women by monks using the end of a candle or stick. Lay people are expected to sit or stand with their heads at a lower level than that of a monk. Within a temple, monks may sit on a raised platform during ceremonies to make this easier to achieve.


Marriage
Thai marriage ceremonies between Buddhists are generally divided into two parts: a Buddhist component, which includes the recitation of prayers and the offering of food and other gifts to monks and images of the Buddha, and a non-Buddhist component rooted in folk traditions, which centers on the couple's family.
In former times, it was unknown for Buddhist monks to be present at any stage of the marriage ceremony itself. As monks were required to attend to the dead during funerals, their presence at a marriage (which was associated with fertility, and intended to produce children) was considered a bad omen. A couple would seek a blessing from their local temple before or after being married, and might consult a monk for astrological advice in setting an auspicious date for the wedding. The non-Buddhist portions of the wedding would take place away from the temple, and would often take place on a separate day.
In modern times, these prohibitions have been significantly relaxed. It is not uncommon for a visit to a temple to be made on the same day as the non-Buddhist portions of a wedding, or even for the wedding to take place within the temple. While a division is still commonly observed between the "religious" and "secular" portions of a wedding service, it may be as simple as the monks present for the Buddhist ceremony departing to take lunch once their role is complete.
During the Buddhist component of the wedding service, the couple first bow before the image of the Buddha. They then recite certain basic Buddhist prayers or chants (typically including taking the Three Refuges and the Five Precepts), and light incense and candles before the image. The parents of the couple may then be called upon to 'connect' them, by placing upon the heads of the bride and groom twin loops of string or thread that link the couple together. The couple may then make offerings of food, flowers, and medicine to the monks present. Cash gifts (usually placed in an envelope) may also be presented to the temple at this time.
The monks may then unwind a small length of thread that is held between the hands of the assembled monks. They begin a series of recitations of Pali scriptures intended to bring merit and blessings to the new couple. The string terminates with the lead monk, who may connect it to a container of water that will be 'sanctified' for the ceremony. Merit is said to travel through the string and be conveyed to the water; a similar arrangement is used to transfer merit to the dead at a funeral, further evidence of the weakening of the taboo on mixing funerary imagery and trappings with marriage ceremonies. Blessed water may be mixed with wax drippings from a candle lit before the Buddha image and other unguents and herbs to create a 'paste' that is then applied to the foreheads of the bride and groom to create a small 'dot', similar to the marking sometimes made with red ochre on Hindu devotees. The bride's mark is created with the butt end of the candle rather than the monk's thumb, in keeping with the Vinaya prohibition against touching women.
The highest-ranking monk present may elect to say a few words to the couple, offering advice or encouragement. The couple may then make offerings of food to the monks, at which point the Buddhist portion of the ceremony is concluded.
The Thai dowry system is known as the 'Sin Sodt'. Traditionally, the groom will be expected to pay a sum of money to the family, to compensate them and to demonstrate that the groom is financially capable of taking care of their daughter. Sometimes, this sum is purely symbolic, and will be returned to the bride and groom after the wedding has taken place.
The religious component of marriage ceremonies between Thai Muslims are markedly different from that described above. The Imam of the local mosque, the groom, the father of the bride, men in the immediate family and important men in the community sit in a circle during the ceremony, conducted by the Imam. All the women, including the bride, sit in a separate room and do not have any direct participation in the ceremony. The secular component of the ceremony, however, is often nearly identical to the secular part of Thai Buddhist wedding ceremonies. The only notable difference here is the type of meat served to guests (goat and/or beef instead of pork). Thai Muslims frequently, though not always, also follow the conventions of the Thai dowry system

Funerals
Traditionally funerals last for a week. Crying is discouraged during the funeral, so as not to worry the spirit of the deceased. Many activities surrounding the funeral are intended to make merit for the deceased. Copies of Buddhist scriptures may be printed and distributed in the name of the deceased, and gifts are usually given to a local temple. Monks are invited to chant prayers that are intended to provide merit for the deceased, as well as to provide protection against the possibility of the dead relative returning as a malicious spirit. A picture of the deceased from his/her best days will often be displayed next to the coffin. Often, a thread is connected to the corpse or coffin which is held by the chanting monks during their recitation; this thread is intended to transfer the merit of the monks' recitation to the deceased. The corpse is cremated, and the urn with the ash is usually kept in a chedi in the local temple. The Chinese minority however bury the deceased

Holidays
Important holidays in Thai culture include Thai New Year, or Songkran, which officially observed from April 13 to 15 each year. Falling at the end of the dry season and during the hot season in Thailand, the celebrations notoriously feature boisterous water throwing. The water throwing stemmed from washing Buddha images and lightly sprinkling scented water on the hands of elderly people. Small amounts of scented talcum powder were also used in the annual cleansing rite. But in recent decades the use of water has intensified with the use of hoses, barrels, squirt guns, high-pressure tubes and copious amounts of powder.
Another holiday is Loy Krathong, which is held on the 12 full moon of the Thai lunar calendar. While not a government-observed holiday, it is nonetheless an auspicious day in Thai culture, in which Thai people "loi", meaning "to float" a "krathong", a small raft traditionally made from a section of banana tree, decorated with elaborately-folded banana leaves, flowers, candles, incense sticks etc. The act of floating away the candle raft is symbolic of letting go of all one's grudges, anger and defilements, so that one can start life afresh on a better foot

Nicknames
Thais universally have one, or occasionally more, short nicknames (Thai: ชึ่อเล่น play-name) that they use with friends and family. Often first given by friends or an older family member, these nicknames are typically one syllable (or worn down from two syllables to one). Though they may be simply shortened versions of a full name, they quite frequently have no relation to the Thai’s full name and are often humorous and/or nonsense words. Traditionally call-names would be after things with low value, eg 'dirt', which was to convince bad spirits that the child was not worth their attention. Some common nicknames (the non-nonsense ones, anyway) would translate into English as fatty, pig, little one, frog, banana, green, or girl/boy. Though rare, sometimes Thai children are given nicknames after the order they were born into the family (i.e. one, two, three, etc.). Nicknames are useful because official Thai names are often long, particularly among Thais of Chinese descent, whose lengthy names stem from an attempt to translate Chinese names into Thai equivalents, or among Thai with similarly lengthy Sanskrit-derived names.















วิถีชีวิตของชาวเหนือ



วัฒนธรรมในด้านต่างๆของชาวเหนือวิถีชีวิตคนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้ คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียวถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วยชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามอาชีพชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วยยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบนอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นนอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก เครื่องแต่งกาย การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่าตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้องตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควนทุกข์(จน)ไม่มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้อุปนิสัยคนไทยภาคเหนือเป็นคนรักสงบ มีนิสัยสุภาพอ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ที่สำคัญคือ ให้การต้อนรับทุกคนเป็นอย่างดี หากใครเดินผ่าน เขาจะทักทายปราศรัย พูดคุย หากใครไปที่บ้านก็จะให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสตรีชาวเหนือ หากใครทักทายก็จะทักทายพูดคุยด้วยไมตรีเสมอประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อคนภาคเหนือก็เหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่ ความเชื่อแต่เดิมก็เชื่อเรืองผีเช่นเดียวกัน แต่ละบ้าน แต่ละตระกูลก็จะมีผีประจำบ้าน ประจำตระกูล ดังนั้น แต่ละหมู่บ้านหรือแต่ละบ้านก็มีประเพณีเลี้ยงผี เช่น ผีปู่ย่า ผีมด ผีเมง ผีเสื้อเมือง เป็นต้น เมื่อพุทธศาสนาแพร่มายังภาคเหนือ คนไทยภาคเหนือก็รับเอาพุทธศาสนาเป็นสรณะ ชาวเหนือเป็นพุทธมามกะที่ดีและปฏิบัติศาสนกิจเคร่งครัดมาก แทบทุกหมู่บ้านจะมีวัดประจำหมู่บ้าน พ่อแม่ที่มีลูกชายจะนิยมให้ลูกชายบวชเรียน และนิยมให้ลูกชายบวชเณร ที่แม่ฮ่องสอน เรียกว่า ประเพณีบวชลูกแก้ว เมื่อลูกชายย่างเข้า 9 ปี พ่อแม่ถือลูกชายยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมาะที่จะบวช จึงทำพิธีบวชลูกแก้ว พิธีนี้จัดกันอย่างใหญ่โต แต่ละครอบครัวที่มีลูกชายวัยเดียวกันมักจะนัดมาบวชพร้อมกัน มีการแต่งตัวให้นาคอย่างงดงามเหมือนเครื่องทรงกษัตริย์ เมื่อเข้าขบวนแห่ก็ให้ขึ้นหลังม้ากางสัปทน (ร่ม) จัดขบวนแห่อย่างสวยงามไปบวชที่วัด เมื่อบวชเป็นเณรก็เรียนหนังสือศึกษาพุทธศาสนาที่วัด พออายุได้ประมาณ 19 ปีก็ลาสิกขา แล้วจะมีคำนำหน้าว่า “น้อย” เช่น น้อยไชยา ส่วนผู้ที่บวชเป็นพระต่อถ้าสึกออกมาเป็นฆราวาสก็จะมีคำนำหน้าว่า “หนาน เช่น หนานโฮะ หนานอินตา เป็นต้นอาหารการกินคนไทยทางภาคเหนือนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักทั้ง 3 มื้อ ส่วนกับข้าวก็จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อควาย หมู ไก่ ปลา) อาหารทะเลมีน้อยมาก และยังมีความเชื่อว่าถ้ากินอาหารทะเลจะผิดผญาด คือ เป็นโรคผิดสำแดง หรือ แสลง ผักต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ลักษณะการประกอบอาหารก็จะมีทั้งชนิดแห้งและน้ำ เช่น ลาบ ลู่ ไส้อั่ว ชิ้นหมู เอาะ แกงฮังเล แกงอ่อม แกง โฮะ แกงผักกาดจอ เป็นต้นมีอาหารชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านต้องมีไว้ประจำครัวเรือน เรียกว่า “ถั่วเน่า” คือ ถั่วเหลืองที่นำไปหมักแล้วนำมาทำเป็นแผ่นบาง ๆ แบน และทำเป็นแผ่นกลม ๆ พอนำไปตากแดดแห้งแล้วจะนำมาร้อยเป็นพวงด้วยตอกไม้ไผ่ นำไปเก็บไว้ในครัว ถั่วเน่าจะนำไปผสมลงในแกงหรืออาหารอย่างอื่นได้หลายอย่างที่จริงการใช้ถั่วเหลืองมาประกอบอาหารกินเป็นประจำนั้นถือว่าถูกต้องและเป็นความฉลาดของคนภาคเหนือ เพราะถั่วเหลืองนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังให้พลังงานสูงด้วยยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ คือ ลู่ ซึ่งเป็นประเภทอาหารคาวและยังดิบ ๆ อยู่ลู่ คือลาบทางภาคเหนือแต่มีเลือดผสมด้วย ลู่ทำจากเนื้อหมู วัว ควาย นำมาสับให้ละเอียด ผสมด้วยเครื่องเทศ มีเครื่องในสัตว์หั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมลงไปด้วยก็ได้ รสจะเปรี้ยว เค็ม เผ็ด รสร้อนแรง นิยมกินกับเหล้า และมีผักต่าง ๆ มาแกล้ม ทางภาคอีสานลักษณะคล้ายกัน เรียกว่า ลาบเลือด แต่มีลักษณะเหลว ไม่ข้นเหมือนลู่ทางภาคเหนือ

ศิลปวัฒนธรรม ภาคเหนือ


1.การแต่งกาย ภาคเหนือ
การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่ า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงานสำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า
ตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้องตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
2.ชนเผ่าพื้นเมือง ภาคเหนือ
2.1ชนเผ่าม้ง ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนม าหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาวบริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมาปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน


2.2ชนเผ่ากะเหรี่ยง กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้กล่าวถึงตำนานที่ตั้งของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ภูเขา "ทอทีปล่อก่อ" มีผู้เฒ่า "เทาะแมป่า" เป็นหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื่อสายมาจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เมื่อที่ทำกินไม่พอเทาะแมป่าจึงพาลูกหลานอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการเดินทางว่ากันว่าเทาะแมป่าเดินเร็วมากลูกหลานพากันหยุดพัก เทาะแมป่าไม่สนใจลูกหลาน พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนมาหยุดตามที่ต่างๆ แถบแถวลุ่มน้ำสาละวินบ้าง ลุ่มน้ำอิระวดีบ้าง กระทั้งสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้มีกะเหรี่ยง อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตพม่า ตลอดจนในเขตภาคเหนือ และตะวันออกของประเทศไทย เอกสารบางชนิดระบุว่าคนกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงไต้ของประเทศจีน เมื่อถูกขับไล่หนี ลงมาตั้งหลักในระว่างกลางเขตพม่ากับมอญ ตอนหลังถูกพม่าบีบ ต้องอพยพอยู่บนภูเขา เอกสารบางชิ้นระบุว่าคนกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยล้วนมาจากพม่าทั้งสิ้น เพียงแต่ ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเข้ามาอยู่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บ้างก็ว่าในดินแดนล้านนา หรือก่อนโยนกด้วยซ้ำ นั้นหมายถึงการกำเนิดเมืองเชียงใหม่การย้ายถิ่นฐานจากคำบอกกล่าวของ "พือ มูล บุญเป็ง" คนเฒ่า คนแก่ ได้กล่าว เล่าความเป็นมาของกะเหรี่ยงในประเทศไทย พื้นที่หลักที่กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) อาศัยอยู่ครั้งเเรกคือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยยึดอาชีพเกษตรกรรม ในการหาเลี้ยงชีพ ต่อมาในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติประมูล โครงการทำป่าสัมปทาน ณ.ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย โดยบริษัทที่ชนะการประมูล จะได้กรรมสิทธิ์การทำธุรกิจขนส่งไม้ จากตำบล แม่ยาว ออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้น บริษัทจากประเทศฝรั่งเศส หรือที่ชาวกระเหรี่ยงเรียกกันว่า บริษัท "ห้าง โบ๋ เบ๋" ได้กรรมสิทธิ์ในการทำธุรกิจสัมปทานในครั้งนั้นไป "พือ มูล บุญเป็ง" เล่าต่อว่าหลังจากที่ "ห้างโบ๋ เบ๋" เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย ปัญหาแรกที่พบคือการสื่อสาร และการทำสัมปทานไม้ในสมัยนั้น จำเป็นต้องมี ช้างควานช้างในการลากไม้ซุง หลังจากเสร็จสัมปทาน กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) ส่วนหนึ่งได้ตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านน้ำลัด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเห็นว่าเป็นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร ได้ใช้ชีวิตมาจนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทำสงครามกะเหรี่ยงได้ร่วมมือกับทหารไทย โดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ในการลำเลียง สิ่งของ เสบียง อาหาร ให้กับทหารไทยในการรบครั้งนั้น หลังสงครามมีชนพื้นเมืองย้ายถิ่นฐานกลับมามากขึ้น ทำให้ที่คับแคบแออัดขัดแย้งที่ทำมาหากิน กะเหรี่ยงส่วนหนึ่งจึงตัดสินใจออกเดินทางอีกครั้งกำเนิด ตำบลแม่ยาวเนื่องด้วยชนเผ่ากะเหรี่ยง มีนิสัยรักความสงบ ชอบใช้ชีวิตอย่างสันโดษ เมื่อมีประชากรหนาแน่น จึงมองหาที่ทำกินใหม่ โดยเล็งเห็นว่า ตำบลแม่ยาว ที่เคยเป็นสัมปทานเก่า เป็นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก ขณะนั้นผู้เฒ่า (เซโค่) ตุดง ธุระวร ได้เป็นผู้นำพาลูกหลาน และลูกบ้านส่วนหนึ่งย้ายขึ้นมา ตั้งหลัก ปักฐาน อยู่ที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย คำว่า แม่ยาว ตั้งขึ้นมาจากสัมปทานแม่ยาวนั้นเอง แต่ยังมีบางส่วนที่ ย้าย กระจัดกระจายออกไป ตามส่วนต่างๆ ตามแทบแถว ตำบล ทุ่งพร้าว อำเภอ แม่สรวย จังหวัดเชียงราย ยังมีส่วนที่ย้าย และอาศัยอยู่แถบแนวชายแดนของจังหวัดกาญจนบุรี ใช่ว่าจะมีเพียงเท่านี้ ทุกวันนี้ ยังมีประชากรกะเหรี่ยงอาศัยกระจัดกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย


2.3 ชนเผ่า ลีซู(ลีซอ) ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต – พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ ๔,๐๐๐ปีที่ผ่านมาพวกตนเคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ชาวลีซู ถึงเรื่องราวการอพยพว่า ได้อพยพมาจากหมู่บ้านแห่ง หนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุงประเทศพม่า เข้ามาตั้งถิ่น ฐานอยู่ที่บ้านลีซูห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย และโยกย้ายไปตั้งบ้านเรือน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่และสุโขทัย ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเองลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลายกับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำนั้นอยู่ พม่า จีน



2.4 ชนเผ่าอ่าข่า
อ่าข่าเป็นชนกลุ่มๆ หนึ่ง ที่ใช้ชื่อเรียกชนกลุ่มตนเองว่าอ่าข่า ในประเทศจีนเรียกว่าฮานีหรือโวน อ่าข่าสามารถแยกศัพท์ได้ดังนี้ อ่า แปลว่าชื้น ข่า แปลว่าไกล ความหมายของคำว่าอ่าข่าคือ ห่างไกลความชื้น อ่าข่าชื่อนี้มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้าอยู่ใกล้แม่น้ำมีโรคภัยไข้เจ็บมาก และจากตำนานของอ่าข่าที่เล่าสู่รุ่นหลังมา กล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งอ่าข่าได้เสียชีวิตไปมาก เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำ ซึ่งอ่าข่าเรียกโรคนี้ว่า มี้หิ โรคนี้อาจตรงกับโรคอหิวาตกโรค หรือไข้มาลาเลียอย่างใดอย่างหนึ่ง จากตำนานและแนวความเชื่อมีผลต่อที่อยู่อาศัย อ่าข่าจึงมักอยู่ดอยสูงๆ อาศัยอยู่เฉพาะในทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่างๆ ดังนี้ ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และประเทศจีน ตามตำนานเล่าขานกันมาเดิมอ่าข่าอาศัยอยู่จีนเป็นแผ่นดินใหญ่ หรือที่อ่าข่าเรียกว่าดินแดน จ่าแตหมี่ฉ่า จากคำบอกเล่าพบว่าชนเผ่าอ่าข่าได้อพยพสู่ดินแดนต่างๆ เพราะปัญหาการเมืองในประเทศจีน สำหรับการเข้ามาสู่ประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ . ศ .2435 โดยมีเส้นทาง 2 สาย คือ สายแรกอพยพจากประเทศพม่าสู่ประเทศไทย เข้ามาครั้งแรกในเขตอำเภอแม่จัน หมู่บ้านพญาไพร ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ) โดยการนำของ หู่ลอง จูเปาะ และหู่ซ้อง จูเปาะ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ได้เข้าในเขตดอยตุง เส้นทางที่สอง ได้อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยผ่านรอยตะเข็บของประเทศพม่าและลาว เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันอ่าข่าได้กระจ่ายอยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ และคาดได้มีอ่าข่าบางส่วนได้อพยพไปอยู่จังหวัดน่าน พิษณุโลก และหลายจังหวัดของประเทศไทย เพราะไปใช้แรงงานในจังหวัดดังกล่าว อย่างไรก็ตามจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าอ่าข่าให้ความกระจ่างว่าอ่าข่าประเทศไทยส่วนมากอพยพมาจากเชียงตุงของพม่า เข้ามาและปักหลักแหล่งครั้งแรกที่บ้านดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ผู้นำรุ่นแรกที่เข้ามาในประเทศไทยคือนายแสน อุ่นเรือน ส่วนญาติพี่น้องได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านต่างๆ เช่นบ้านแสนใจพัฒนา ผาหมี และแสนเจริญเก่า




3.อาหารภาคเหนือ ภาคเหนือ... เป็น ดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองม าตั้งแต่ครั้งในอดีต เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเองนอก จากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนานภาค เหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศ ไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูกละได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ ให้แก่เกษตรกร ภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้ แต่อาหารดั้งเดิม ของภาคเหนือ ก็ยังใช้พืชตามป่าเขา และพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการ ปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่โก๊ะ ข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอดีที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทนการ เก็บอาหารที่เหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัวทั่ว ๆ ไปจะมีราวไว้แขวน หอม กระเทียมคน ภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง ( จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง ) ไก่ หมู และเนื้ออาหารภาคเหนือ ไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสม ที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้นการ ทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน ( ยำขนุน ) เมื่อตำเสร็จ ก็ต้องนำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลา ที่จับจากแม่น้ำลำคลอง
4.อาชีพคนภาคเหนือ
ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น



5.การแสดงภาคเหนือ
ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนชมเดือน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)
6.ภาษาเหนือ
ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอนความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน
7.วิถีชีวิต
คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียวถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วยชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก

Thai Food of the North

Thai Food of the North
Thai food of the north, in some way, is cooked with the sole thought for the taste for the northern people. The recipe consists of vegetable and ingredients available in their immediate vicinity. The common meal includes steamed glutinous rice, chili sauces which come in a host of varieties, such as "namprik noom", "namprik dang", "namprik ong" and chili soups (gang)
such as gang hangle, gang hoh, gang kae. In addition there are also, local sausages such as sai ua, and nham; steamed meat, roasted pork, pork resin, fried pork, fried chicken and vegetable to go with them.



The northern people have penchant for medium cooked food with a touch of salty tastes almost to the exclusion of sweet and sour tastes. Meat preferred by the northern people is pork followed by beef, chicken, duck, bird etc. Sea food is the least known on account of the remoteness of the northern region from the sea.
Thai food of the north does not lack in varieties. These are dishes to be consumed at different times of the day. The northern breakfast known in the local dialect as khao gnai consisting mainly of steamed glutinous rice. Cooked in the early hours of the day, steamed glutinous rice is packed in a wicker basket made from bamboo splints or palmyra palm leaves. The farmer takes the packed basket to the working rice field and eat the glutinous rice as lunch, known in the dialect as "khao ton". Dinner or "khoa lang" is an familiar affair is served on raised wooden tray or "kan toke". The tray which is about 15 to 30 inches in diameter is painted in red.
Traditional Method of Serving Northern Food
The northern people are known to follow their traditions in a very strict and faithful manner, in particular the tradition of serving and partaking of the evening meal. Food is placed in small cups placed on "kantoke" which could be an inlaid wooden or brass tray depending on the economic status of the house owner. Served together with "kantoke" is steamed glutinous rice that is the staple food of the northerner packed in a wicker basket. There is also a kendi containing drinking water nearby. Water is poured from the kendi to a silver drinking cup from which water is drunk. After the main course come desserts and local cigars to conclude the evening meal.

ประเพณีทานข้าวใหม่


เดือน 4 เหนือเป็ง (มกราคม) ประเพณีทานข้าวใหม่ ข้าวจี่ ข้าวหลาม
วันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ หรือเรียกว่าเดือน 4 เป็งเป็นประเพณีทานข้าวใหม่ และตานข้าวจี่ ข้าวหลาม ชาวลานนาไทยได้ถือเป็นประเพณีทาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ตอนที่จะมีข้าวใหม่มาทนนั้น จะขอเล่าความเป็นมาถึงการมีข้าวใหม่มาทานเสียก่อน คือ เราจะต้องทำไร่ทำนาข้าวก่อนจึงจะมีข้าวใหม่ทานได้ การทำนาได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ลือพ่ออุ้ยพ่อหม่อน ปู่ลุง อาวอา สืบสานกันมาถึงลูกถึกหลาน เหลน ล้วนแต่มีการทำไร่ทำนากันทุกบ้านเรือน จะมีมากมีน้อยก็ตามฐานะของตน ผู้ไม่มีนาก็ได้เป็นเช่านาเขาทำบ้าง ไปรับจ้างเขาทำก็มีมาก เพื่อได้มาให้เพียงพอแก่ครอบครัว ถือเป็นอาชีพของคนลานนา ส่วนอาชีพอื่นเป็นอาชีพเสริม
การทำนาสมัยก่อนต้องใช้ แรงวัวแรงควาย ชักลากเฝือไถต้องเตรียมเครืองใช้ มีไถเฝือ แอกควาย แอกน้อย เชือกต่อสำหรับผูกแอก ผูกไถ เมื่อเดือน 8-9-10 มาเถิง ฝนเริ่มตกลงมา ชาวนาก็จะตกกล้า หรือหว่านกล้า เริ่มเอาน้ำเข้าตกกล้าก่อน แล้วนะเอาข้าวเชื้อ (พันธุ์ข้าว) ประมาณกี่ต๋าง (กี่เปี่ยด) แล้วแต่นามีมากน้อยเท่าไรแล้วนำข้าวลงแช่น้ำ 3 คืน แล้วเอาออกอุก (อม) เจ้าของจะไถนาทำแปลงหว่านกล้าเมื่อแช่ 3 คืน แล้วเอาออกใส่ถุงใส่ทอทับด้วยใบตอง แล้วอบไว้ 2 คืน เรียกข้าวน้ำ 3 บก 2 ก็จะแตกงอกจึงนำไปหว่านในแปลงนาที่จัดไว้ หว่านกล้าแล้ว เจ้าของนาก็จะไถนารอกล้า ถ้าน้ำอำนวยให้ จะหมักไว้จนขี้ไถยุบตัวลงหญ้าต่าง ๆ จะเน่ากลายเป็นปุ๋ยไปในตัว แล้วก็เริ่มเผือกกลับไปกลับมาให้เรียบ ก็ลงมือปลูกข้าวต่อจากนั้นก็ค่อยดูแลหญ้าและศัตรูพืชในขณะปลูกข้าวจะเอามือ เอาวันกัน ช่วยเหลือกันและกันไม่ต้องจ้าง มีแต่หาข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงกันสามารถปลูกได้อย่างรวดเร็ว ไม่นิยมจ้างกันเช่นทุกวันนี้ เมื่อย่างเข้าเดือนกันยายน-ตุลาคม ข้าวจะตั้งก่องอกงามเรียกว่า สร้างต้นสร้างก๋อ พฤศจิกายน ข้าวก็ตั้งท้องออกรวง ธันวาคม ข้าวก็จะเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา ปลายเดือนก็เริ่มเก็บเกี่ยว แล้วมัดบ้างเป็นฟ่อนบ้าง แล้วรวมกันนวดฟากกับรางเรียกว่า (ฮางตี๋ข้าว) กว้างขนาด 1 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร ช่วยกันตีสนุกสนาน ส่วนมากมักตีกันตอนเย็นและเข้าคืน เพราะอากาศมันเย็นทำงานได้มาก แสงสว่างก็อยู่ใต้แสงเดือน และใช้เฟื่องจุดไฟแจ้งสว่างพอดีข้าวได้เสร็จแล้วก็ขนข้าวไปเก็บในยุ้งฉ่าง (หล่องข้าวหรือถุข้าว)
เมื่อเก็บเรียบร้อยแล้ว ก็ทำขวัญข้าว มื้อจันวันดีไล่ตามปักตืน วันผีกินวันคนกินทั้งข้างขึ้น และข้างแรม เมื่อได้วันดีแล้วก็เริ่มกินข้าวใหม่ ส่วนหนึ่งนำไปทำบุญแด่พระสงฆ์ สามเณร อุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาและพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วนั้นเมื่อถึงเดือน 4 เป็ง ประเพณีตานข้าวใหม่ ประชาชนก็นำข้าวเปลือกข้าวสารใหม่ ข้าวหลาม ข้าวจี่ ข้าวต้ม ขนมจ๊อก อาหาร น้ำตาล น้ำอ้อยไปใส่บาตรและยังมีพิธีบูชากองหลัวถวายเป็นพุทธบูชาอีก คือ พระภิกษุสามเณรและประชาชนชาวพุทธ ไปตัดเอาไม้จี่ ยาวบ้าง สั้นบ้างมาก่อเป็นกองหลัวทำเป็นเจดีย์แล้วจุดบูชาตอนเช้า เป็นการบูชาพระรัตนตรัย โดยความหมายเพื่อเผากิเลส ตัณหาให้หมดไป สมัยนี้มีให้เห็นน้อยเต็มทีเพราะไม้จี๋หายาก ถูกตัดฟันไปหมด ป่าไม้วอดวายไปหมด จนหาดูได้ยากแล้วเพราะมนุษย์คนเรานั้นอหละ

ประเพณีงานปอยหลวง

ประวัติความเป็นมาและหลักคิด
การที่เรียกว่า ปอยหลวง เพราะงานประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่หรือเป็นงานใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลเป็นจำนวนมาก มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งทางพระพุทธศาสนาและด้านมหรสพเพื่อความบันเทิง ทั้งยังต้องจัดความสะดวกในด้านบริการแก่แขกต่างหมู่บ้านต่างอำเภอ ซึ่งจะมีทั้งสมณะและฆราวาสทุกเพศทุกวัยทางวัดและศรัทธาเจ้าภาพต้องดูแลให้ทั่วถึง
ลักษณะของกิจกรรม



ปอยหลวงเป็นประเพณีนิยมของชาวล้านนาไทยที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการฉลองสมโภชสิ่งก่อสร้างภายในวัด เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ กุฏิสงฆ์ ศาลา กำแพง เป็นต้น เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นเวลาหลายวัน มีพุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน (หัววัด)
ซึ่งทางวัดที่จะทำบุญนั้นเป็นผู้มีฎีกาเชิญมาร่วมงานฉลองด้วยกัน มีทั้งต่างตำบล ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ปอยหลวงนิยมจัดขึ้นในเดือน 5 – 8 เหนือ เพราะเป็นช่วงที่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวแล้วทำให้การจัดงานนั้นสามารถทำได้อย่างเต็มที่
องค์ประกอบของกิจกรรม
1. ประชาชนที่เป็นเจ้าภาพ
2. พระสงฆ์ที่เป็นเจ้าอาวาส วัดที่มีการจัดปอยหลวง
3. คณะศรัทธาหรือหัววัดต่าง ๆ ที่กราบนิมนต์มาร่วมฉลอง
4. เครื่องไทยทานของหมู่บ้านที่จะนำมาถวายวัด ร่วมถึงเครื่องไทยทานที่จะถวายหัววัดต่าง ๆ ที่มาร่วมทำบุญ
5. ตุงชัย ใช้สำหรับเพื่อบอกว่าวัดนี้มีงานปอยหลวง
6. มหรสพต่าง ๆ ที่จะนำมาสมโภช ( ในภาคเหนือนิยมหา ซอ มาแสดงในวันที่เชิญหัววัดต่าง ๆ มาร่วมงาน เพื่อเป็นการดึงดูดให้ศรัทธาต่างหมู่บ้านได้อยู่ร่วมงานจนถึงเย็น )
ขั้นตอนของกิจกรรม
เมื่อมีการสร้างสิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางวัดจะมีการฉลองสมโภชและถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนาจะต้องมีการเตรียมงานอยู่หลายขั้นตอนด้วยกัน
1. จะต้องมีการประชุมคณะกรรมการในหมู่บ้านเพื่อบอกรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับงานว่าจะทำอย่างไร โดยร่างออกมาพอเป็นแนวทางหรือแผนการในการจัดงาน (สามารถเปลี่ยนแปลงแผนงานต่าง ๆ ได้ตามเมื่อเข้าในที่ประชุมใหญ่)
2. ประชุมคณะศรัทธาสาธุชนในหมู่บ้านเพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ของงาน และแบ่งงานแบ่งหน้าที่ให้กับชาวบ้านให้มีส่วนร่วมในงาน เช่น กรรมการผ่ายต้อนรับ กรรมการผ่ายปฏิคม เป็นต้น
3. ทางวัดเริ่มออกฎีกาอาราธนานิมนต์เชิญวัดต่าง ๆ เข้าร่วมงานปอยหลวง
4. ทางวัดต้องจัดหามหรสพเพื่อมาสมโภชในงาน เช่น ซอ วงศ์ปี่พาท เป็นต้น
5. ก่อนที่จะถึงวันงานประมาณ 3 วัน ก็จะมีการไปแห่พระอุปคุตมาโดยการไปอธิฐานเอาก้อนหินตามรำน้ำประจำหมู่บ้าน เพื่อมาปกป้องรักษางานให้ดำเนินไปได้ด้วยดี โดยจะสร้างพระวิหารเล็กไว้หน้าพระอุโบสถ มีเครื่องอัตถบริขารไว้แล้วต้องใส่บาตรทุกเช้าตลอดทั้งงาน
6. วันแรกของงานจะมีการตานตุงชัย โดยประชาชนจะนำเอาตุงมาถวายที่วัดแล้วนำไปปักไว้ตามถนนที่จะเข้าสู่วัด เพื่อเป็นการแสดงว่าวัดนี้จะมีงานปอยหลวง
7. วันที่สองของงานคือวันจัดแต่งดาเครื่องไทยทาน โดยที่ประชาชนในหมู่บ้านจะร่วมกัน แต่งดาเครื่องไทยทานและจัดเตรียมสถานที่ไว้ต้อนรับผู้ที่เข้ามาร่วมในงานปอยหลวง
8. วันที่สามของงานคือวันที่จะได้ต้อนรับคณะศรัทธาสาธุชนที่ทางวัดได้มีฎีกานิมนต์มาร่วมงาน ในวันนี้ก็จะมีมหรสพตลอดทั้งวัน การเตรียมงานต่าง ๆ ของทางวัดก็จะได้ใช้ในวันนี้
9. วันที่สี่เป็นวันที่ถวายทานถาวรวัตถุไว้กับบวรพระพุทธศาสนา ในวันนี้ก็จะมีแต่คณะศรัทธาในหมู่บ้านเท่านั้น และเป็นวันที่จะต้องทำความสะอาดวัดสถานที่ที่ใช้ต้อนรับแขก ทางเหนือเรียกว่าล้างผาม ( ผาม คือ สถานที่ที่สร้างขึ้นไว้ต้อนรับหัววัดต่าง)
จุดมุ่งหมายของกิจกรรม
1.เพื่อเป็นถวายถาวรวัตถุไว้กับบวรพระพุทธศาสนา
2.เพื่อเป็นการฉลองสมโภชถาวรวัตถุที่ประชาชนได้ร่วมกันสร้างไว้กับพระพุทธศาสนา
3.เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติที่อยู่ห่างไกลกัน
ความสัมพันธ์เกี่ยวกับประชาสังคม
ในการจัดงานปอยหลวงในแต่ละครั้ง เจ้าภาพต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของสถานที่ ความร่วมมือของคนในชุมชน การเตรียมงาน ต่าง ๆ จึงจะทำให้งานปอยหลวงเกิดขึ้นได้
กิจกรรมปอยหลวงหรืองานปอยหลวงนั้นเมื่อวัดใดจัดขึ้นสิ่งแรกก็คือคนในชุมชนต้องมีความสามัคคีกันถ้าไม่อย่างนั้นงานปอยหลวงก็จะเกิดปัญหาตามมา ทำให้งานเกิดอุปสรรคขึ้น ความร่วมมือร่วมใจในชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญเป็นแรงขับเคลื่อนให้งานปอยหลวงราบรื่นสำเร็จไปได้ด้วยดี คนในชุมชนจะแบ่งงานกันทำ เช่น ผ่ายบริการ ผ่ายต้อนรับ ผ่ายจัดสถานที่ เป็นต้น
อีกประการหนึ่ง ในงานปอยหลวงก็จะมีการเชิญต่างหมู่บ้านมาร่วมทำบุญด้วยเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและเป็นการพบปะกันระหว่างเครือญาติที่อยู่ห่างไกลกัน เพราะส่วนใหญ่ที่เชิญมานั้นก็เป็นญาติกันทั้งนั้น
ดั้งนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่เข้าร่วมงานปอยหลวงมีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน นั้นคือการร่วมทำบุญสร้างถาวรวัตถุไว้กับพระพุทธศาสนา และยังมีผลพลอยได้อย่างอื่นอีก เช่น ความสามัคคีของคนในชุมชน การได้พบกันของญาติพี่น้องที่อยู่ต่างหมู่บ้าน ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันมากขึ้น

รดน้ำดำหัว ล้านนา

" วันปากปี '' ตรงกับวันที่ 16 เมษายนของทุกปีเพราะเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่ สองฉบับก่อนได้เล่าถึงประเพณีสงกรานต์ของล้านนาไทยตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน ว่าเขาทำอะไรบ้างก่อนจะกล่าวถึงเรื่องดำหัวอย่างละเอียด จะขอเล่าถึงวันที่ 16 เมษายน ว่าเขาทำอะไรบ้าง
วันนี้คนล้านนาไทยเรียกว่า " วันปากปี '' คล้ายกับ " ปากประตู '' คือช่องเป็นที่เริ่มเข้าสู่ในบ้านเรือน ในวันนี้ตอนเช้าประชาชนจะพากันไปบูชาข้าวของลดเคราะห์ที่วัด โดยนำเสื้อของสมาชิกในครอบครัวไปด้วยเพื่อเอารองไว้ใต้ "สะตวง" อันเป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องบูชา ทางวัดมีคำกล่าวบูชาโดยเฉพาะ โดยนำเอาวิธีของพราหมณ์มาแก้ไขให้เป็นวิธีพุทธ ถือว่าถ้าได้กระทำเช่นนี้จะอยู่ดีมีสุขตลอดปี บางบ้านก็นิมนต์พระมาเทศน์คัมภีร์ที่เป็นมงคล หรือทำพิธีสืบชาตาที่บ้าน
วันนี้ถ้าหากว่าการดำหัว เมื่อวานนี้ยังไม่เสร็จเรียบร้อย ก็จะใช้วันนี้เป็นวันดำหัวอีกวันหนึ่ง การรดน้ำกันยังคงมีประปรายเฉพาะพวกที่ไปดำหัวด้วยกัน หรือเมื่อเจอกับคณะอื่น ก็จะสาดน้ำรดน้ำกันอย่างมีความสุข



การรดน้ำ กันตามประเพณีนั้นน่าจะพูดไว้เสียที่นี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังรู้และเข้าใจว่าความจริงการรดน้ำกันนั้น คนโบราณเขาทำกันอย่างสุภาพมีวัฒนธรรมโดยให้ศีลให้พรกันไปในตัวทีเดียว เช่นชายหนึ่งรดน้ำหญิงสาวขณะที่หลั่งน้ำลงรดที่ไหล่หรือที่หลังก็ตามปากมัก จะพร่ำพูดให้พรต่าง ๆนานา เช่น "พลันได้พลันมี สารภีซ้อนกาบ พลันได้หาบได้คอน พลันได้นอนหมอนคู่ พลันได้อยู่ทวยกัน พลันได้เอาสวรรค์เป็นบ้าน เถิดหนอ"
ผู้หญิงจะรดน้ำตอบบ้าง ก็จะอวยพรให้เช่นกันเป็นต้นว่า "น้ำใสใจจริง ไหลลงสู่เนื้อเปียะเปียกเสื้อ เพราะหลั่งจากใจน้ำหยดนี้ บ่แห้งเหยไหน ขอฝากติดไปรอดเติงเถิงบ้าน" เป็นต้น หรือแล้วแต่โวหารที่จะพูดออกมา ส่วนมากเป็นคำดีมีความหมายหาได้เหมือนปัจจุบันนี้ไม่ เพราะเท่าที่เห็นเป็นการทารุณต่อผู้ที่ได้รับรดน้ำเหลือเกิน ไม่เป็นสิ่งเชิดชูใจแต่ประการใด ถ้าคนโบราณทำเช่นนี้ ประพณีสงกรานต์คงไม่มีสังคมยอมรับและเหลือมาถึงเราเป็นแน่ขอฝากไว้ช่วยชี้ แจงแก่คนปัจจุบันและชาวต่างถิ่นด้วย
กลับมาถึงขั้นตอนของการ ดำหัวในแบบฉบับของล้านนาโบราณ คำว่า "ดำหัว" ในภาษาล้านนามีความหมายว่า "สระผม '' พจนานุกรมล้านนาไทยฉบับแม่ฟ้าหลวงหน้าที่ 444 ให้ความหมายว่าสระผมหรือพิธีแสดงความเคารพผู้มีอาวุโสหรือผู้มีบุณคุณ ในประเพณีสงกรานต์ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2542 หน้าที่ 405 ให้ความหมายว่า เป็นประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทำในวันปีใหม่ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือและรักใคร่ และยังอธิบายต่ออีกว่า วิธีดำหัวคือเอาสิ่งของและน้ำที่ใส่เครื่องหอมเช่นน้ำอบไทยไปให้แก่ผู้ที่ เคารพและขอให้ท่านรดน้ำใส่หัวของตนให้อยู่เย็นเป็นสุข
จากพจนานุกรมทั้งสองฉบับ จะเห็นได้ว่าประเพณีดำหัวเป็นประเพณีของทางล้านนาไทยอย่างชัดเจน ความเชื่อของของทางล้านนาคือผู้ที่เราเคารพผู้อาวุโสผู้มีบุญคุณแก่เราทาง เหนือล้านนานิยมใช้น้ำที่ใส่ขมิ้นส้มป่อยมีสีเหลืองมีกลิ่นหอมน่าขลัง ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับน้ำที่สรงน้ำพระ หรือองค์พระธาตุ เป็นน้ำที่ใช้ดำหัว สำหรับน้ำอบน้ำหอมนั้นมาทีหลังซึ่งเป็นของทางภาคกลาง
ส่วนวิธีการของทางล้านนา จริง ๆ หลังจากให้พรเสร็จแล้ว ผู้ที่ถูกดำหัวก็จะใช้มือของตนเองจุ่มลงไปในน้ำแล้วลูบหัวตนเอง ซึ่งมีความเชื่อเหมือนกับการรับสูมาคาราวะที่ผู้คนที่มาดำหัวได้ทำอะไรที่ ไม่เป็นมงคล ด้วย กาย วาจา ใจ ไม่ได้ขอให้นำน้ำขมิ้นส้มป่อยมาใส่หัวของตนเอง นอกจากท่านจะกรุณา สะบัดนิ้วมือที่มีน้ำติดอยู่ใส่หัวของผู้ที่ไปดำหัวซึ่งสุดแล้วแต่ท่าน ไม่ได้เจาะจงดั่งเช่นที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกล่าวไว้
อีกประการหนึ่งที่ พจนานุกรมทั้งสองฉบับไม่กล่าวถึงคือสิ่งที่ผู้ใหญ่ทั้งในภาคกลางและภาคเหนือ ที่เป็นข้าราชการทำก็คือ การรดน้ำใส่มือของผู้ที่เรามาดำหัว ในความเป็นจริงแล้วเราจะเห็นบ่อยมากส่วนมากท่านเหล่านั้นเป็นระดับสูง ๆ ทั้งนั้น ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีผู้ว่าราชการจังหวัดลงมาจนถึงระดับผู้นำท้องถิ่น ซึ่งบางคนผู้นำเหล่านั้นก็เป็นคนล้านนาแต่ก็ยังยอมให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับ บัญชาที่ไม่รู้เรื่องประเพณีล้านนาทำอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เชื่อก็คอยดูในทางโทรทัศน์ในปีนี้รับรองได้เห็นแน่นอน ไม่มีเอกสารฉบับไหนของล้านนากล่าวถึงประเพณีรดน้ำดำหัวว่าผู้ที่มาดำหัวต้อง รดที่มือ นอกจากประเพณีของทางภาคกลางที่รดน้ำมือคือประเพณีแต่งงานเพื่ออวยพรคู่บ่าว สาวและรดน้ำที่มือศพ ซึ่งถือว่ารดน้ำศพส่วนทางของล้าน นาไม่นิยมในการที่จะรดน้ำที่มือในการอวยพรใด ๆ ทั้งสิ้น ( เพราะมีความรู้สึกเหมือนรดน้ำศพของทางภาคกลาง ยิ่งเมื่อมือโดนน้ำรดมาก ๆ แล้วลักษณะของมือก็จะซีดเหมือนมือของคนที่ตายแล้วจึงไม่ นิยมทำกัน ) หลังจากที่ให้พรเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ถูกดำหัวก็จะออกมายืนอยู่ที่ตรงชายบ้าน ซึ่งบ้านทางล้านนาโบราณจะต้องมีชานบ้านทุกหลังคาเรือน เพื่อไว้ทำประโยชน์หลายอย่าง เช่นเป็นที่อาบน้ำ ตากเสื้อผ้า และก็เพื่อใช้ในประเพณีดำหัว แล้วท่านที่มาดำหัวก็จะออกมารดน้ำที่ไหล่ท่านพร้อมกับอวยพรให้ท่านอยู่เย็น เป็นสุขมีอายุยืนยาว
อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะ กล่าวถึงก็คือความเชื่อของการรดน้ำดำหัว ในทางล้านนาก็คือผู้ที่อาวุโส เคารพนับถือเท่านั้นที่เราจะรดน้ำดำหัว ที่นิยมก็คือ บิดามารดา พระสงฆ์ ผู้อาวุโสที่มีคุณงามความดี อยู่ในศีลสัตย์ ผู้นำที่เสียสละมีบุญคุณต่อแผ่นดินครูอาจราย์ที่ให้วิชาความรู้แก่เรา ไม่จำกัดว่าผู้คนเหล่านั้นจะมีตำแหน่งหน้าที่อะไร การดำหัวของล้านนาจึงเหมือนกับบอกคุณค่าของคน เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของผู้ใหญ่ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี
ดังนั้นการกระทำในการดำ หัวจะไม่มีการกระเกณฑ์คนโดยแบบบังคับให้มาเหมือนปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่ไปดำหัวจะต้องมีความเกี่ยวพันกับผู้ที่เราไปดำหัวในด้านใดด้าน หนึ่งและเปี่ยมล้นไปด้วยความรักนับถือและศรัทธาไม่ใช่ไปเพื่อสร้างภาพแสดง พลังให้ยิ่งใหญ่ของบุคคลนั้น โดยกระบวนการที่ลิ่วล้อของท่านเหล่านั้นจะเป็นผู้จัดการระดมเกณฑ์คน โดยที่ท่านเหล่านั้นแทบจะไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร บางทีพอเห็นภาพผู้คนมากมายก็ทำให้ท่านทั้งหลายหลงลืมตนเองคิดว่าตน้องเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งบางท่านกว่าจะสรุปบทเรียนได้ก็ต่อเมื่อตนเองหมดตำแหน่งหน้าที่ในยศถา บรรดาศักดิ์ หมดอำนาจวาสนาที่ไม่เคยจีรังและยั่งยืน ประเพณีดำหัวจึงจะบอกท่านเหล่านั้นให้รู้ว่าตนเองมีคุณค่าแค่ไหน
ดังนั้นเราจะเห็นภาพที่ เห็นอยู่เป็นประจำไม่ว่าทางโทรทัศน์ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไป คือคนเฒ่าคนแก่ที่ที่ถูกผู้นำระดับล่างกะเกณฑ์มานั่งยอง ๆ ยกมือไหว้ใครก็ไม่รู้ที่ตนเองก็ไม่รู้จัก และที่สำคัญที่สุดคนที่ยกมือไหว้นั้นยังอายุหนุ่มกว่าน้อยกว่า บางคนก็เป็นรุ่นลูก รุ่นหลาน ซึ่งเป็นภาพที่เห็นแล้วน่าสมเพชเวทนาเป็นอย่างยิ่ง
จากที่เล่ามาทั้งหมดผู้ เขียนมีเจตนายากจะให้คนรุ่นใหม่ ได้รู้ถึงกระบวนการขั้นตอนความเชื่อของประเพณีรดน้ำดำหัวของทางล้านนาจริง ๆ เขาทำอย่างไร เชื่ออย่างไรและอีกอย่างหนึ่งที่จะฝากไว้สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ยิ่งใหญ่มี ตำแหน่ง สูง ๆไม่ว่าระดับไหนก็ตามถ้าเป็นคนล้านนาแล้ว ควรจะปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างตามแบบของความเชื่อในประเพณีโบราณของล้านนา อย่างน้อยก็เป็นตัวอย่างต้นแบบเพื่อให้ลูกหลานล้านนาได้เห็นและจะได้ปฏิบัติ สืบต่อไป
เป็นอย่างไรครับประเพณี ปีใหม่เมืองอันยิ่งใหญ่ของล้านนาในอดีต ที่สื่อความหมายและจุดประสงค์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของกระบวนการทางสังคม ผสมกับการกระทำที่เป็นศิริมงคลแก่ผู้อื่นและตนเอง ให้กำลังใจแก่ตนเองที่จะต่อสู้กับชีวิตในปีต่อไปนับเป็นอุดมการณ์ที่ยิ่ง ใหญ่ และแน่นอนที่สุดคือแตกต่างจากจุดประสงค์ของงาน เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ อารยธรรมล้านนา และ 5 ประเทศที่กำลัง เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้อย่างสิ้นเชิง
ก่อนจบบทความฉบับนี้จึงขอยกตัวอย่าง " คำพร "( อ่านว่ากำปอน ) ของอาจารย์สิงฆะ
วรรณสัยซึ่งเขียนไว้ เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาเป็นฉบับย่อ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาถึงความหมายของมัน จะได้เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของประเพณีดำหัวของล้านนาไทย
ดีแล อัชชะในวันนี้ก็เป็นวันดี ศรีสุภมังคละอันประเสริฐ ล้ำเลิศยิ่งกว่าวันและยามดังหลาย บัดนี้หมายมี …. เป็นเค้า มาเลงหันสังขานต์ …. ปีเก่าล่วงไปพลัน เถิงวันพญาวันปีใหม่ จุจอดไคว่เถิงมา เป็นกาละเวลาเล่นม่วน ล่นเล้าร่วนเทียวกองตามทำนองปางก่อน ได้สืบสอนคำหอม หื้อน้ำขมิ้นส้มป่อยข้าวตอก ตั้งดอกไม้ธูปเทียนงาม โภชนาหารหลามหลากพร้อม ลางพร่องก็หาบเปียดพร้อมบุงกาน มโนหวานใจใฝ่ เตียวตางไต่ตามกัน พ่อแม่ไผมันไปไคว่ ดังผู้ใหญ่และผู้สูง ปู่ป้าอาว์ผู้เฒ่า พากันไต่เต้าไปหาครูบาอาจริยะ บ่เลยเลิกละปาเวณี ยามเมื่อถึงเดือนชีปีใหม่ มีมโนใฝ่ใจสุนทร์ หมายมุ่งบุญบ่หื้อเคียด เกิดส้มเสียดโกธา แต่งสรีระกายานุ่งหย้อง เหน็บดอกช้องใส่เตมหัว ประดับเนื้อตัวหื้อใหม่ เสื้อผ้าใส่จันทร์มัน อู้เล่นกันเหยาะหยอก ตักน้ำถอกหดกันดี ตั้งสาวจี๋และบ่าวหนุ่ม เปียะน้ำชุ่มตึงตัว ฝูงสาวใคร่หัวเหิดเล่น ฝูงบ่าวตื่นเต้นกำกันบวย เทียวตามทวยทางไต่ ประเพณีปีใหม่ถึงต้นหดน้ำกันตามสุภาพ หลั่งหลดอาบตามสังขานต์ คำจำหวานอู้อ่อย ปันพรย่อยแก่กัน สนุกเนืองนันตามจารีต เป็นปราณีตบ่เหยหาย
บัดนี้เจ้าตั้งหลายทุก ถ้วนหน้า มาเลงเห็นผู้ข้ามีแก่น เป็นผู้นำ ทำดีมีศีลอยู่บ่ขาด ในศักราชปีเก่าว่าไป แม้นมีกายใจวาปรามาส ได้ล่วงล้ำพลาดเวลา ได้เทียวไปมากราบย่ำ ยามเฮาอยู่ที่ต่ำเทียวกายหัว บ่ได้น้อมนอบตัวก้มหน้า ได้เอิ้นทักกลางท่ากลางทาง เกิกทางขวางเทียวไต่ บ่จงใจใฝ่ปองหันมาสางเทื่อฟังเตียวล่นล้นย่ำเทียวแป้นเฮือนดัง ว่าบ่ฟังเหลือกำ เอิ้นคำด่าข้ามไปมา ยามเมื่อมีโกรธากริ้วโกรธ กลัวเป็นโทษบาปกรรมแปดใจดำด่างพร้อย มาขอลดโทษปล่อยขมา บัดนี้มาเถิงปีใหม่แล้ว เป็นปีใหม่แก้วพญาวัน มาขอปลงปันอนุญาต ที่ได้ปรามาส ด้วยกายวาจาใจ ก็มีมโนมัยใจผ่อง ลดโทษคู่อัน บ่หื้อมีแก่กันพึงสองฝ่าย หื้อขอค้ายจากลาหนี หื้อสูเจ้าจำเริญดีปายหน้า อายุยืนยิ่งกวาร้อยชาว วรรณะเปิงปาวขาวผ่องเป็นที่ถูกต้องใจคน เปนหน้าไปตังใดไกลใกล้ หื้อเป็นที่รักใคร่คนหุม อันธพาลจุมหมู่ร้าย หื้อได้หลีกค้ายหนีไกล หื้อมีความสุข กายใจอย่าขาด โรคร้ายนิราศคลาดคลาไป สมดังมโนมัยใฝ่อ้าง มีแรงยิ่งกว่าช้างพังพลาย เป็นที่คนทังหลายรักชอบ แม้นประกอบการงานใด หื้อสัมฤทธิ์ดังใจใฝ่อ้าง มีใจกว้างสันปัตติ กองสมดังมโนผองอ้างใฝ่ ที่คิดไว้จุอัน สมกำบาลีว่าสัพพีติโย วิวัชชันตุ ฯลฯ อายุวัณโณสุขังพลัง .

ประเพณียี่เป็ง


ประเพณี "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ เดือน 2 ของไทยล้านนา ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา" หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผาง ปะติ๊ด) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ประเพณีลอยโคม



งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว
ประเพณีแห่สลุงหลวง
ประเพณีที่งดงามของชาวล้านนาจังหวัดลำปางที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ในงานจะมีการแห่สลุงหลวงหรือขันน้ำตามประเพณีโบราณไปรอบเมือง เพื่อรับน้ำขมิ้นส้มป่อยจากประชาชนไปสรงแด่พระแก้วดอนเต้า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
ประเพณีแข่งเรือล้านนา
ประเพณีแข่งเรือล้านนาจะถูกจัดขึ้น ณ ลำน้ำน่านทุกปี ในระยะ หลังเทศกาลออกพรรษา ประมาณปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน นอกจากเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อเชื่อม ความสามัคคีแล้วยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี การแข่งเรือแบบล้านนาในงานจะมีการแข่งขันเรือหลายประเภทคือ เรือใหญ่ เรือกลาง และเรือสวยงาม โดยเรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องแต่งหัวเรือเป็นรูปพญานาค เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเรือแข่งจังหวัดน่าน นอกจากนั้นจะมีการตีฆ้อง ล่องน่าน-ตีตานแข่งเรือ ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัด
ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย
ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จะจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เหนือ) ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทางภาคกลางชาวบ้านจะพากันเดินทางมาสรงน้ำเพื่อสักการะพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยน้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนั้น ชาวลำพูนมักขึ้นไปตักจากบ่อน้ำทิพย์บนยอดดอยขะม้อซึ่งชาวลำพูนเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
ประเพณีบูชาอินทขีล
เป็นประเพณีประจำปีของชาวเชียงใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานความเชื่อถือผีดั้งเดิมและพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลังเพื่อเป็นการสรงน้ำเสาหลักเมืองและสรงน้ำถวายพระเจ้าฝนแสนห่าองค์ประธานในพิธีและเพื่อเป็นการสร้างขัวญกำลังใจของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาแต่เดิมในยามบ่ายจะพากันเตรียมดอกไม้เครื่องบูชามาจัดเรียงใส่ในตะกร้าเพื่อทำการใส่ขันดอกหรือการถวายดอกไม้บูชาอินทขีลที่บริเวณหน้าวิหารของวัดเจดีย์หลวง ซึ่งจะประดิษฐาน พระเจ้าฝนแสนห่า ไว้ให้ประชาชนบูชาเป็นการชั่วคราวหลัง จากการแห่ไปตามถนนในเมืองเชียงใหม่ก่อนกลับวัดเจดีย์หลวงเพื่อประกอบพิธีสรงน้ำ ใส่ขันดอกเมื่อเสร็จพิธีก็จะมีมหรสพสมโภชเช่นเดียวกับงานบุญอื่น ๆ
ประเพณีเลี้ยงผี
เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ จนถึงเดือน 8 ของทุกๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อถึงวันทำพิธี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปถวายผีบรรพบุรุษของตน โดยจะทำพิธีแยกออกเป็น 2 แบบ คือการเลี้ยงผีผู้ที่ตายไปแล้ว โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผีมด" และ"ผีเม้ง"
วัฒนธรรมประเพณีพม่าในล้านนาไทย
ตลอดระยะเวลาที่พม่าปกครองล้านนาไทยเป็นเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ นั้น พม่าได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีของตนเข้ามาเผยแพร่ในล้านนา ไทยหลายด้าน ทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ความเชื่อ การแต่งกาย อาหาร ฯลฯ ทางด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น เจดีย์ในเชียงใหม่หลาย วัดสร้างตามแบบเจดีย์พม่า ประเพณีการสร้างรูปสิงห์ตามวัดต่างๆ นิยมสร้างตาม ประเพณีพม่า ด้านปติมากรรมพบพระพุทธรูปแบบพม่าในวัดต่างๆ ในล้านนาไทยทั่วไป การที่คนล้านนาไทยนิยมบวชเณรมากกว่าบวชพระภิกษุนั้น เป็นประเพณีนิยมของพม่า อย่างหนึ่งเช่น การนิยมสักตามร่างกายเป็นประเพณีของพม่า ซึ่งคนพม่าถือว่าเด็กผู้ชายของพม่าจะถือว่าเป็น ฟ หนุ่มต่อเมื่อได้สักตามร่างกายแล้ว โดยสักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และเชื่อว่าทำให้คง 1 กระพัน ประเพณีการสักนี้ พม่านำเข้ามาใช้ในล้านนาไทยด้านศาสนา พม่าได้เอา 4 พุทธศาสนาหีนยานแบบพม่า เรียกว่า นิกายม่าน เข้ามา เผยแพร่ในล้านนาไทย แต่ 4 สันนิษฐานว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร แม้ว่าพม่าจะนำเอาพระสงฆ์เข้ามาและสร้างวัดพม่าก็ตาม ส่วนความนิยมและสิ่งที่พม่านำไปจากเชียงใหม่หรือล้านนาไทยนั้น สันนิษฐานว่าพม่าคงนำไปน้อยมาก เพราะคนพม่าที่เข้ามาปกครองล้านนาไทยนั้นมีจำนวนน้อยและอยู่ในฐานะผู้ปกครองล้านนา จึงไม่เลื่อมใสยกย่องวัฒนธรรมของคนที่ตนปกครองอยู่